บุคลิก และ เรื่องเล่าลือ ของ ว็อล์ฟกัง เพาลี

ปรากฏการณ์เพาลี ได้รับการตั้งชื่อ ดามความสามารถอันแปลกประหลาดของเขาที่สามารถทำอุปกรณ์การทดลองพังเพียงแค่เขาอยู่ใกล้เท่านั้น ตัวของเพาลีเองก็ตระหนักถึงเรื่องเล่าลือเรื่องนี้ และ ยินดีเบิกบาน ที่เมื่อไหร่ก็ตามที่ปรากฏการณ์นี้บังเกิดขึ้น

ในทางฟิสิกส์แล้ว เพาลีถึอได้ว่าเป็นนักยึดความสมบูรณ์แบบที่โด่งดัง ความประพฤตินี้ไม่ได้เพียงแค่ครอบคลุมงานของเขาเท่านั้น แต่ยังขยายตัวไปสู่งานของเพื่อนร่วมงานด้วย ด้วยเหตุนี้ เขาจึงกลายเป็นที่รู้จักภายในชุมชนฟิสิกส์ในฐานะ "ความตื่นตัวของฟิสิกส์" นักติเตียนสำหรับผู้ที่เพื่อนร่วมงานของเขาต้องได้รับผิดชอบด้วย เขาอาจจะวิจารณ์อย่างเสียๆ หายๆ ในการขับไล่ทฤษฎีใดๆ ก็ตามที่เขาพบว่าไม่สมบูรณ์ และ บ่อยครั้งที่ประกาศว่า มัน ganz falsch หรือ ผิดอย่างสมบูรณ์

อย่างไรก็ดี นี่ไม่ได้เป็นการวิจารณ์ที่เลวร้ายที่สุดของเขา เขาเก็บมันไว้สำหรับ ทฤษฎี หรือ วิทยานิพนธ์ ที่ถูกนำเสนออย่างไม่แจ่มชัดในฐานะที่ว่ามันไม่สามารถทดสอบ หรือ ไม่สามารถประเมินดูได้ และ ดังนั้นไม่ควรจะอาศัยอยู่ภายในอาณาจักรของวิทยาศาสตร์ แม้ว่าจะนำเสนอในทำนองนั้น สิ่งเหล่านั้นแย่ยิ่งกว่าผิดเสียอีก เพราะ พวกมันไม่สามารถจะถูกพิสูจน์ได้ว่าผิด คำพูดประโยคหนึ่งที่มีชื่อเสียง ซึ่งเขาพูดต่อผลงานชิ้นหนึ่งที่ไม่กระจ่างชัดเช่นนั้น คือ: "มันไม่แม้แต่จะผิด"

เหตุการณ์หนึ่งที่ได้รับการรายงานว่าได้เคยเกิดขึ้น [6] คือ เกิดกับ พอล เอห์เรนเฟสท์ นักฟิสิกส์ชั้นนำในขณะนั้น ผู้ซึ่งแสดง คำเลื่องลือความยโส ของ เพาลีนี้ เขาทั้งสองได้พบกันเป็นครั้งแรกในการประชุมครั้งหนึ่ง แม้ว่า เอห์เรนเฟสท์ จะไม่เคยพบ เพาลี มาก่อน แต่เขาก็มีความคุ้นเคยกับงานของเพาลี และ ค่อนข้างที่จะประทับใจกับมัน หลังจากเพียงไม่กี่นาทีของการสนทนา เอห์เรนเฟสท์ ได้กล่าวขึ้นว่า "ผมคิดว่าผมชอบงานของคุณมากกว่าตัวคุณนะ" ซึ่ง เพาลี ก็ตอบกลับว่า "ผมคิดว่าผมชอบคุณมากกว่างานของคุณ" ทั้งสองได้กลายเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันตั้งแต่นั้นมา

เรื่องตลกขบขันที่เป็นที่รู้จักกันดีอันหนึ่งในชุมชนฟิสิกส์ดำเนินไปอย่างนี้: หลังจากการตายของเขา เพาลี ได้รับอนุญาตให้เข้าไปคุยกับพระเจ้าได้ เพาลีถามพระเจ้าว่า ทำไม ค่าคงตัวของโครงสร้างละเอียดจึงมีค่า 1/(137.036...) พระเจ้าพยักหน้า แล้วไปที่กระดานดำ และ เริ่มที่จะเขียนสมการด้วยความรวดเร็วปานสายฟ้าผ่า เพาลีได้ดูเขาและทุบโต๊ะด้วยความพอใจอย่างยิ่ง แต่ ไม่นานนักได้เริ่มส่ายหัวอย่างแรง "Das ist ganz falsch!" (มันผิดอย่างสมบูรณ์)

ภาพอย่างหนึ่งที่ดูจะอบอุ่นกว่ามาจากเรื่องข้างล่างนี้ที่ปรากฏในบทความเกี่ยวกับ ดิแรก:"แวร์เนอร์ ไฮเซนแบร์ก (ใน Physics and Beyond ปี พ.ศ. 2514) จำได้ถึงการสนทนาอย่างฉันท์มิตรอันหนึ่งระหว่างผู้เข้าร่วมประชุมหนุ่มๆ ที่ การประชุม โซล์เวย์ ปี พ.ศ. 2470 เกี่ยวกับ ทัศนคติของไอสไตน์ และ พลางค์ ในเรื่องศาสนา ว็อล์ฟกัง เพาลี, ไฮเซนแบร์ก และ ดิแรก ได้มีส่วนร่วมในการสนทนาด้วย ความเห็นในส่วนของ ดิแรก นั้นเป็นการวิจาร์ณที่ คมกริบ และ ชัดเจน เกี่ยวกับการบังคับควบคุมศาสนาในทางการเมือง" บอห์ร ได้ชื่นชมในความชัดเจนนั้นเป็นอันมาก หลังจากไฮเซนแบร์ก ได้รายงานความเห็นนั้นให้เขาฟัง ในท่ามกลางสิ่งเหล่าอื่น ดิแรก ได้พูดว่า "ผมไม่สามารถที่จะเข้าใจว่าทำไมพวกเราจึงปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปด้วยการมาถกเถียงกันเรื่องศาสนา ถ้าเราซื่อสัตย์ และ ในฐานะที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ ความซื่อสัตย์ เป็นหน้าที่อันเที่ยงตรงของพวกเรา เราช่วยไม่ได้ เว้นแต่จะยอมรับว่าศาสนาใดๆ ก็ตาม ต่างก็เป็นหีบห่ออันหนึ่งของคำกล่าวที่ผิดๆ ปราศจากพื้นฐานที่เป็นจริงอันใด ความเห็นอันเยี่ยมของพระเจ้าเป็นผลผลิตของจินตนาการของมนุษย์ [...] ผมไม่ได้จำเรื่องลึกลับทางศาสนาเรื่องไหนเลย อย่างน้อยก็เพราะมันขัดแย้งกันเอง [...]" ความเห็นของไฮเซนแบร์กนั้นพอทนได้ ส่วน เพาลีได้นิ่งเงียบอยู่ หลังจากเสนอข้อสังเกตบางอย่างในตอนต้น แต่ท้ายแล้ว เมื่อเขาถูกถาม สำหรับความเห็นของเขา เขาพูดด้วยความขบขันว่า "ดี ผมควรจะพูดด้วยว่าเพื่อนของเรา ดิแรก ได้มีศาสนาแล้ว และ คำสั่งข้อแรกของศาสนานี้คือ พระเจ้าไม่มีอยู่จริง และ พอล ดิแรก เป็น ผู้พยากรณ์ของเขา"" ทุกคนต่างระเบิดออกมาเป็นเสียงหัวเราะ รวมทั้ง ดิแรก ด้วย

แหล่งที่มา

WikiPedia: ว็อล์ฟกัง เพาลี http://cdsweb.cern.ch/collection/Pauli%20Archives http://www.ethbib.ethz.ch/exhibit/pauli/einstieg_e... http://www.ethbib.ethz.ch/exhibit/pauli/pauli_fram... http://www.solid.ethz.ch/pauli-conference/abstract... http://www.solid.ethz.ch/pauli-conference/thematic... http://www.psychovision.ch/rfr/contrib_SYNC.htm http://www.nobel-winners.com/Physics/wolfgang_paul... http://www.igpp.de/english/tda/pdf/paulijcs8.pdf http://alsos.wlu.edu/qsearch.aspx?browse=people/Pa... http://www.aip.org/history/esva/catalog/esva/Pauli...